ReadyPlanet.com
dot
dot
กิจกรรมเพื่อสังคม
dot
bulletบริจาคโลหิต
bulletสาระน่ารู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
bulletโครงการกรัณฑ์ปันยิ้ม




หยดน้ำเล็ก ๆ สำหรับเนติบัณฑิตไทย สมัย ๕๙

หม่อมหลวงไกรฤกษ์  เกษมสันต์*
รพี'๕๐ คณะกรรมการเนติบัญฑิต สมัยที่ ๕๙ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา
จำไดัว่า เคยพูดในห้องบรรยายเสมอว่า ทุกท่านที่กำลังเรียนอยู่ เป็นการศึกษา "ข้อกฎหมาย" ทุกคนมีความุ่งมั่นจะเป็น เนติบัณฑิต แต่ขอให้จำไว่ว่าการให้ความยุติธรรม
ไม่ได้ขึ้นการสสอบได้ที่ ๑ หากขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นความรู้ความเข้าใจในแก่นแท้ของความเป็นจริง เพราะข้อกฎหมายมาทีหลังข้อเท็จจริง ถ้าวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ผิดพลาด เช่น จำเลยมิได้ฆ่าผู้อื่น แต่ท่านฟังว่า "ฆ่า" การนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ มาปรับ จึงเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ทราบหรือไม่ว่า
นอกจากจำเลยจะต้องสูญเสียชีวิตหรืออิสรภาพแล้ว ยังทำความวิบัติหรือเสียหายไปยังบุคคลใกล้ชิดของจำเลยเหล่านั้นด้วยเพราะกว่าศาลสูงจะพิพากษากลับ ประกาศความเป็น
ผู้บริสุทธิ์ของจำเลย เขาเหล่านั้นอาจไม่มีอะไรเหลืออยู่ในชีวิตแล้วก็ได้ จึงขอให้ข้อสังเกตบางประการเป็นเสมือยหยดน้ำเล็ก ๆ คอยสะกิดเตือนใจของท่าน ในการที่จะเป็นผู้ใช้กฎหมาย
ที่ดี
๑.  ต้องมีจิตใจที่ดีงาม  เพราะเป็นพื้นฐานที่มาแห่งผลทั้งปวง การมองคนด้วยความเมตตามีความกรุณาอยู่ในใจ  แม้บุคคลเหล่านั้นจะเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นผู้ที่มาขอคำแนะนำจากท่าน
หรือเป็นผู้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน จะมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจ และยอมรับในผลความอาฆาตแค้นโทสจริต นอกจากท่านกำลังเผาผลาญตัวเองแล้วยังอาจก่อกรรมทำ
เข็ญกับผู้อื่นด้วย เช่นผู้พิพากษาตัดสินคดีด้วยความโกรธ จำเลยอาจจะต้องรับโทษหนักกว่าปกติที่ควรจะเป็นก็ได้
๒.  ต้องซื่อสัตย์สุจริต     แม้คำนี้จะได้ยินจนเบื่อหูแล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่า ได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นหรือไม่ ซื่อสัตย์นี้ จะต้องต่อตนเองและผู้อื่น เช่นตั้งใจจะค้นคว้าหาความรู้วันละ ๒ ชั่วโมง
ก็จะต้องทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ ไม่โกหาตัวเอง อ้างว่าจำเป็นต่าง ๆ นอกจากนี้จะต้องซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่นอก
จากจะก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว ยังอาจทำให้ต้องรับโทษทางอาญาได้อีกด้วย
     สิ่งที่จะกระทบต่อความซื่อสัตย์สุจริตคือ "ผลประโยชน์" ผลประโยชน์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเงินเป็นทองอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่ทำให้เราพึงพอใจแล้วคล้อยตามพร้อมที่จะทำอะไร
ก็ได้เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์นั้น ๆ
    ทางแก้ก็คือ  หมั่นครวจอารมณืและความรู้สึกที่อยู่ในใจของเราเสมอ ๆ ลองเอาใจเขาาใส่ใจเราคิดง่าย ๆ ว่าถ้าคนอื่นทำอย่างที่เราทำ เราจะรู้สึกต่อบุคคลเหล่านั่นอย่างไร ถ้ารู้สึกใน
แง่ลบ ต้องเลิกและระงับเสีย "คนดีคือคนที่มีโอกาสแล้วละเว้น ไม่ยอมรับประโยชน์ที่ไม่ชอบนั้น ๆ"
๓.  ต้องค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ คือรู้อะไรต้องรู้ให้จริงและใช้ให้เป็น คือใช้อย่างมีปัญญา ความรู้จริงนี้ทำให้หลุดพ้นจากโมหาคติ
ขอเล่าประสบการณ์ที่เกอดขึ้นกับตัวเองให้ฟังเรื่องหนึ่ง ขณะนั้นออกไปเป็นผู้พิพากษาใหม่ ๆ ได้ทำคดีเรื่องหนึ่ง จำเลยลักไก่แล้วผลักลุงซึ่งเป็นผู้เสียหายในขณะนำไก่ออกจากกรงแล้ว
จากนั้นก็โยนไก่ทิ้งแล้วหลบหนีไป จำเลยในคดีอายุประมาณ ๑๘ ปี กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
    ตอนพิจารณาคดีก็ไม่รู้สึกอะไร ฟังข้องเท็จริงไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลย เมื่อเชื่อพยานโจทก์จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา ๓๓๙ แต่เวลาจะลงโทษ เหมือนมีอะไรมาอุดตันอยู่ในอก เพราะการชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนมีโทษจำคุกตามมาตรา ๓๓๙ วรรคสอง สิบปีถึงสิบห้าปี เกิดความรู้สึกกลืนไม่เข้า
คายไม่ออกว่า ลักไก่เพียงตัวเดียวแล้วผลักอก ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เพื่อจะหลบหนี เหตุใดต้องติดคุกอย่างต่ำถึงสิบปี เวลาปรึกษากับท่านหัวหน้าศาล ท่านก็ให้ข้อคิดว่า ลองพิจารณาให้ดี ๆ
แต่ก็ไม่เฉลียวใจ ขณะนั้นมีความรู้กฎหมายพร้อมเต็มกำลัง แม่นมาก แต่ไม่ใความจัดเจนในการใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม จึงพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์ไปในที่สุด  ใจหนึ่งก็ว่า
ตัวเองทำตรงต่อความเป็นจริงย่อมยุติธรรมแล้ว แต่อีกฝจหนึ่งก็เห็นภาพหน้าตาท่าทางขิงจำเลยและอดคิดไม่ได้ว่าเอาไก่ไปเพียงตัวเดียวติดคุกถึงสิบปี เราเป็นโรคประสามไปแล้วหรีอนี่
    จำเลยคดีนี้ได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยลักได้จริง แต่สงสัยว่ามีการผลักจริงหรือไม่ จึงลงโทษในความผิดฐานลักทรพย์ แล้วรอลงอาญา โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน
    ผมได้มีโอกาสพบท่านผู้พิพากาาศาลฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ ท่านอธิบายว่า ที่ผมตัดสินนั้นน่าจะตรงกับความเป็นจริงแล้ว แต่เมื่องของกลางคือไก่เพียงตัวเดียว และศวลอุทธรณ์หาทางออก
โดยฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นโดยเหตุผลพอไปได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืน...   ท่านกล่าวต่อไปว่าเด็กอายุ ๑๘ ปี ยังมีอนาคตเป็นความหวังของครอบครัวและสังคม การจำคุกแล้วริการลงโทษ
จึงน่าจะเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
    ณ บัดนั้น จึงเข้สในกระแสพระราชดำรัสที่ว่า "กฎหมายไม่ใช่ตัวความยุติธรรม แต่เป็นเครื่องมือของผู้ใช้กฎหมายเท่านั้น ดังนั้นนักกฎหมายจะต้องไม่ติดอยู่กับตัวบทกฏหมายเกินไป
จนลืมความยุติธรรม"
    การจะหลุดพ้นจากโมหาคติ ก็ต้องมีความตั้งใจทำงาน มีความเพียรพยายาม รอบคอบ ค้นคว้า แสวงหาความจริงของชีวิตอยู่สม่ำเสมอ นั่นก็คือการตั้งอยู่ในอิทธิบาท๔
    สุดท้ายที่จะขอฝากไว้า เส้นทางชีวิตของพวกท่านยังอีกยาวนาน จงใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ แต่ละคนวันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมงเท่า ๆ กัน แต่คนหนึ่งใช้นอนหรือเที่ยวเล่นเสีย ๑๖ ชั่วโมง
แต่อีคนหนึ่งใช้เวลานอนเพียง ๘ ชั่วโมง ทำสิ่งที่มีคุณค่าในเวลาที่เหลืออยู่ ดังนั้นหนึ่งวันของคนหลังเท่ากับ ๓ วันของคนแรก โอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตจึงแตกต่างกันตรงที่ใช้เวลาไม่เหมือนกัน
    บนเส้นทางที่ยาวนั้น ย่อมพบสุขและทุกข์สลับกันไป ขอให้ทำใจว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจังมีเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วดับไปในที่สุด ทุกอย่างอยู่ที่ "ใจ" ของเราถ้าเรารับมาแล้วแบกเอาไว้า ชีวิตก็จะ
เหนื่อยและหนักแต่ถ้ารับโดยรู้และเข้าใจแล้วผลักสิ่งที่ไม่ดีงามนั้นออกไปด้วยปัญญา ชีวิตนี้ก็จะดำงอยู่ได้ด้วยความสุขโดยเฉพาะถ้ารู้จัก "พอเพียงต่อความพอใจ" สำหรับคนที่ไม่รู้จักพอเพียงในสิ่งที่ควรจะพอใจจะ
พบรอยยิ้มจากบุคคลเหล่านี้ได้ยากเพราะชีวิตจะเต็มไปด้วยความกังวลและไม่พอใจ
    ที่กล่าวมาทั้งหมดเปรียบเสมือนน้ำหยดลงหิน วันละเล็กละน้อย หินยังถูกกัดกร่อนได้ เมื่อหัวใจของเนติบัณฑิตรุ่น ๕๙ เป็นหัวใจที่ยังเยาว์วัย ง่ายต่อการสัมผัสและรู้สึก หยดน้ำที่ให้ในวันนี้อาจมีประโยชน์
ต่อการดำเนินชีวิตของการเป็นนักกฎหมายที่ดีในอนาคตก็เป็นได้


ที่มา หนังสือระพี 50




บทความ

เรียนเนติฯอย่างไรให้ได้ดี
การขอรับชำระหนี้ทำให้เจ้าหนี้จำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากรได้เสมอไปหรือไม่



Copyright © 2010 All Rights Reserved.